วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทคัดย่อ งานวิจัยในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

โสภิดา โคตรโนนกอก.(2551)ผลการใช้กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ แบบวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน ที่มีต่อทักษะ ทางคณิตศาสตร์ ด้านรูปทรงและเนื้อที่ ของเด็กปฐมวัย.

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยมีการดำเนินกิจกรรมแบบวางแผน ปฏิบัติและ ทบทวน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2/3โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sample) โดยนำแบบทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) ด้วยแบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่ ของเด็กปฐมวัยผู้วิจัยเจาะจงเลือกเฉพาะเด็กที่มี ผลคะแนนก่อนการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่ ของเด็กปฐมวัย ระดับต่ำจำนวน 10 คน การดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One-Group- Pretest-Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่ ของเด็กปฐมวัย และแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบวางแผน ปฏิบัติ และทบทวน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ IOC ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ(t – test) แบบ Dependemt Samples
ผลการวิจัยพบว่า
เด็กปฐมวัยที่มีทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่ ระดับต่ำ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบวางแผน ปฏิบัติ และทบทวน ก่อนและหลังการทดลองมีทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการทดลองเด็กปฐมวัยมี ทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านรูปทรงและเนื้อที่สูงกว่าก่อนการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

ขอรายงานตัวคะ

ขอรายงานตัวคะ